ขั้นกว่าของปัญหาผมร่วง คือผมที่ร่วงหนักมากจนพัฒนากลายไปเป็น ผมบาง ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความมั่นใจของเจ้าตัวเป็นอย่างมาก อีกทั้งบางครั้งปัญหาผมบางก็ยังทำให้โอกาสต่างๆ ในชีวิตหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย แล้วจะดีกว่าไหม หากเราสามารถฟื้นฟู ผมบางมาก ให้กลับมาดูหนาสุขภาพดี ด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้
อ่านเพิ่มเติม : ผมร่วงเยอะมากเกิดจากอะไร
ผมบาง เกิดจากอะไร
ภาวะผมร่วง ผมบาง นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นจากพฤติกรรมที่เรากระทำต่อเส้นผม จากมลภาวะรอบตัว ไปจนถึงจากปัญหาสุขภาพภายในที่ส่งผลโดยอ้อมมายังเส้นผม ทำให้สามารถแบ่งสาเหตุของผมบางออกได้เป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ ดังนี้
ผมบางจาก ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอกนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจากพฤติกรรมของตัวเราเอง อย่างเช่น การสระผมผิดวิธี การย้อมผมด้วยสารเคมี และจากมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ก็เป็นเหตุให้ผมร่วงจนบางได้ถ้าปล่อยเอาไว้นานๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทานยาบางชนิด ไม่ว่าจะเพื่อรักษาหรือปรับสมดุลต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การกินยาคุมกำเนิด การรักษาด้วยฮอร์โมน และกลุ่มยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
ผมบางจาก ปัจจัยภายใน
สำหรับปัจจัยภายในนั้น ส่วนใหญ่ที่พบมักมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมผมบางที่ถูกส่งต่อกันมา ซึ่งเป็นเรื่องของฮอร์โมน DHT ที่มาจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ตัวการที่ทำให้ผมบาง ในบางกรณีก็อาจจะมาจากปัญหาความเครียด หรือจะเป็นภาวะผมบางหลังคลอดที่เกี่ยวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของฮอร์โมน อีกทั้งยังมีสาเหตุโรคภัยต่างๆ ที่ส่งผลกับเส้นผมโดยตรงอย่าง โรคผมร่วงเป็นหย่อม หรือโรคเชื้อราที่หนังศีรษะที่อาจทำให้ผมร่วงเฉพาะจุดและบางเป็นวงได้ นอกจากนี้ยังมีโรคทางภูมิคุ้มกันที่ส่งผลให้ผมบางได้อย่างโรค SLE โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเกี่ยวกับเลือด เป็นต้น
10 เคล็ดลับบอกลา ผมบาง
1. ทำจิตใจให้สงบ ลดเครียด
ความเครียดนั้นถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลต่อเส้นผม ดังนั้นการทำจิตใจให้ปลอดโปร่งอยู่เสมอจึงเป็นการรักษาสุขภาพที่ดีทั้งสำหรับเส้นผมและร่างกายอย่างตรงจุด นอกจากนี้ยังช่วยลดโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเครียดได้อีกด้วย เช่น โรคดึงผมตัวเอง เป็นต้น
2. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
สุขภาพที่ดีก็นับเป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่สำคัญ การทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะทำให้เส้นผมสุขภาพดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากเราเกิดขาดสารอาหารขึ้นมาก็อาจทำให้เส้นผมไม่ได้รับสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเพียงพอจนเกิดการหลุดร่วงได้ ซึ่งนับเป็นสาเหตุหลักของผมบางด้วยเช่นกัน
3. ใส่ใจเส้นผมสักนิด
ไม่ว่าจะเป็นการสระผมให้ถูกวิธี การหวีผมอย่างถูกต้อง การเลือกผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับเส้นผมของตัวเอง การทำทรีทเม้นท์เป็นประจำ หรือแม้แต่การหลีกเลี่ยงการมัดผมแน่นๆ หรือการหวีผมแรงๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการใส่ใจเส้นผมทั้งสิ้น เพราะถ้าหากเราเผลอรุนแรงกับเส้นผมมากเกินไป หรือไม่ใส่ใจเส้นผม เส้นผมก็พร้อมที่จะโบกมือลาคุณได้ทุกเมื่อเลยล่ะ
4. ตรวจสุขภาพประจำปี
แม้ว่าการตรวจสุขภาพจะดูไม่เกี่ยวอะไรกับปัญหาเส้นผม แต่ถ้าการตรวจสุขภาพนั้นทำให้เราพบกับโรคบางอย่างที่อาจส่งผลกับเส้นผมของเราล่ะ นอกจากจะเป็นการป้องกันไม่ให้ ผมบางมาก ก่อนวัยอันควรแล้ว ยังเป็นการดีที่จะได้รักษาโรคดังกล่าวเสียแต่เนิ่นๆ โดยไม่ต้องกังวลว่าโรคจะลุกลามบานปลาย
5. ลดการใช้ความร้อนและสารเคมี
ทั้งความร้อนและสารเคมีที่เราใช้ในการจัดแต่งทรงผมนั้น ล้วนแล้วแต่เข้าไปทำลายโครงสร้างเคราตินที่อยู่ในเส้นผม ทำให้เส้นผมอ่อนแอ เปราะบาง แตกปลายและขาดร่วงได้ง่าย หากเลี่ยงให้ผมได้พักบ้างก็จะเป็นผลดีกับเส้นผมมากกว่า
6. ใช้เซรั่มบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม
เส้นผมที่ไม่ได้รับการดูแลก็เหมือนกับต้นไม้ที่ไม่ได้รับปุ๋ย การบำรุงผมด้วยเซรั่มบ้าง อย่าง Kemist Botanical-derived Scalp Serum ที่อัดแน่นไปด้วยสารสกัดจากดอกโคลเวอร์แดง ต้นอ่อนถั่วลันเตา และพืชพันธุ์อื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังมีสารสกัดจากแพลงก์ตอนทะเล ที่ช่วยลดความมัน ลดการอักเสบของหนังศีรษะ ลดการหลุดร่วง ปรับสมดุลของการไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะ ทำให้ทั้งหนังศีรษะและเส้นผมสุขภาพดีขึ้นเพราะได้รับการฟื้นฟูอย่างล้ำลึกถึงระดับเซลล์ผม เพียงใช้เซรั่มบำรุงผมของเคมิสต์ก็ช่วยให้เส้นผมที่เคยบางกลับมาแข็งแรงและดูหนาอย่างเป็นธรรมชาติได้
7. กินยารักษาผมร่วง ผมบาง
ยารักษาผมร่วงผมบางในท้องตลาดตอนนี้มีอยู่ 2 ตัวยาด้วยกัน ได้แก่ ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) ที่นิยมใช้ในเพศชาย เพราะสามารถออกฤทธิ์ที่ช่วยลดการสร้างฮอร์โมน DHT ทำให้แก้ผมร่วงผมบางที่ต้นเหตุได้ และยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ที่นิยมใช้ในเพศหญิง ซึ่งออกฤทธิ์ในการแก้ปัญหาผมร่วงทั่วไป ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอย่างฟีนาสเตอไรด์ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะใช้วิธีการรักษาด้วยยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพราะยาแต่ละชนิดมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ทำให้อาจเกิดอันตรายได้หากใช้ยาผิดประเภทและวัตถุประสงค์
8. แก้ผมบางด้วยการทำ PRP
การทำ PRP หรือ Platelet Rich Plasma เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของคนไข้เข้าไปที่หนังศีรษะ โดยเกล็ดเลือดดังกล่าวก็คือเลือดของคนไข้เองที่ผ่านการแยกเอาเกล็ดเลือดออกมา ซึ่งในเกล็ดเลือดนี้จะมีโปรตีนและ growth factor ต่างๆ มาฉีดที่หนังศีรษะเพื่อกระตุ้นให้ผมแข็งแรงขึ้น ชะลอหลุดร่วง เป็นเหมือนอาหารเสริมให้เส้นผม
9. รักษาด้วยเลเซอร์ LLLT
LLLT คือ Low Level Laser Therapy เป็นเลเซอร์คลื่นความถี่ต่ำ ซึ่งเมื่อถูกฉายลงบนหนังศีรษะ ก็จะเกิดการดูดซับพลังงานและกระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีสารอาหารเข้ามาหล่อเลี้ยงเส้นผมมากขึ้น ทำให้ผมใหม่งอกได้ดีขึ้น ผมร่วงน้อยลง ผมดูดก และหนาขึ้นนั่นเอง
10. ปลูกผมถาวร
แต่ถ้าทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมานั้น ยังไม่ทำให้อาการผมบางดีขึ้น การปลูกผมถาวรก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้ข้ออื่นๆ ทั้งนี้หากสนใจที่จะเข้ารับการปลูกผมก็ควรที่จะไปพบแพทย์เสียตั้งแต่เนิ่นๆ ในตอนที่ยังมีรากผมและทรัพยากรเส้นผมเพียงพออยู่จะเป็นผลดีที่สุด
สรุป
ผมบางนั้นเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายนอกที่มาจากการสระผมผิดวิธี การย้อมผมด้วยสารเคมี และมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการทานยาบางชนิดไม่ว่าจะเพื่อรักษาหรือปรับสมดุลต่างๆ ภายในร่างกาย และปัจจัยภายใน เช่น ปัญหาความเครียด การเปลี่ยนแปลงฉับพลันของฮอร์โมน โรคภัยต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำการรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกินยารักษาผมบาง การใช้เซรั่มบำรุงผม ตลอดจนการรักษาโดยแพทย์นั่นเอง