หัวล้าน เริ่มมาเยือนตั้งแต่อายุยังน้อยพออายุเริ่มเข้าสู่วัย 20 ต้นๆ ประสบกับปัญหา ผมร่วง ผมบาง แนวผมข้างหน้าเริ่มถอยร่นจนเป็นรูปตัว M หรือแม้แต่ตรงกลางที่ผมบางจนเห็นหนังศีรษะ เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะหัวล้าน!
หัวล้าน เกิดจากอะไร
หัวล้านจากกรรมพันธุ์
เกิดจากการที่เอนไซม์ 5α-reductase (5-alpha reductase) บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งเอนไซม์นี้จะเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือ ฮอร์โมนเพศชายมาเป็นฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) เจ้า DHT นี่แหละค่ะที่เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบาง เพราะ DHT ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะมีขนาดเล็กลง เส้นผมที่งอกขึ้นมาจึงเปราะบาง ขาดหลุดร่วงง่าย และทำให้เกิดปัญหาหัวล้านตามมานั่นเอง
หัวล้าน จากสาเหตุอื่น
ซึ่งพบได้น้อยมากไม่ว่าจะเป็นจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) โรคทางต่อมไทรอยด์ โรคโลหิตจาง ภาวะผมร่วงหลังคลอด ผมร่วงจากการทำเคมีบำบัด โรคดึงผมตัวเอง เป็นต้น
พฤติกรรมที่อาจทำให้คุณต้องเจอกับปัญหาหัวล้าน
ผมร่วงแก้ยังไงก็ไม่หายซะทีจนหลายคนเริ่มท้อ เรามาลองสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้ผมร่วงเยอะ มาดูกันค่ะ
1. ประโคมสารเคมี หนังศีรษะอ่อนแอ ต้นเหตุผมร่วง
การประโคมสารเคมีนอกจากจะทำให้เส้นผมแห้งเสีย เปราะ ขาดง่ายแล้วยังทำให้หนังศีรษะระคายเคืองและอักเสบได้อีกด้วย เช่น การย้อมผม ดัดผม ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความรุนแรงต่อหนังศีรษะ รวมถึงสเปรย์จัดแต่งทรงผมที่ใช้แล้วควรสระผมให้สะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีตกค้างบริเวณหนังศีรษะ
2. มัดผมแน่นตึงเกินไป
เพราะการที่เรามัดผมแน่นจนเกินไป ทำให้รากผมถูกดึงรั้งและอ่อนแอจนขาดหลุดร่วงและอาจทำให้ปัญหาหัวล้านถามหาในที่สุด ทางที่ดีเราไม่ควรมัดผมให้แน่นจนเกินไป เปลี่ยนมาปล่อยผมให้สบายๆ บ้างเพื่อลดการดึงรั้งของเส้นผม
3. ลดน้ำหนักแบบหักโหมเกินไป
ใครๆ ก็อยากหุ่นถูกต้องมั้ยคะ แต่การลดน้ำหนักด้วยวิธีจำกัดปริมาณการทานอาหารเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย นอกจากจะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแล้ว แต่ผลที่ตามมาคือร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เส้นผมก็ได้รับสารอาหารน้อยไปด้วย และแล้วผมก็ขาดหลุดร่วงไปในที่สุดนั่นเอง
4. ความเครียดสะสม
เป็นปัจจัยยอดฮิตของคนหนุ่มสาวในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อร่างกายเกิดความเครียดจะหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอล ออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้รากผมอ่อนแอ ขาดหลุดร่วง และอาจเลยเถิดถึงขั้นหัวล้านได้เลยล่ะค่ะ
5. ติดนอนดึกทุกวัน
การนอนดึกทุกวันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงได้ เพราะนอกจากจะไปกระทบกับการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) แล้ว ยังทำให้ร่างกายมีความเครียดสะสม ทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอรวมถึงเซลล์รากผม ส่งผลให้ผมร่วงหนักช่วงที่เรานอนดึก
วิธีป้องกันปัญหาหัวล้าน
ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โดยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทำให้เกิดปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาหัวล้าน เช่น หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีความรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นผมและหนังศีรษะระคายเคือง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สารอาหารครบถ้วน และพยายามทำให้ร่างกายไม่เครียดจนเกินไป เป็นต้น
ป้องกันด้วยการทานยา
การทานยาเป็นการรักษาผมร่วงผมบาง ศีรษะล้าน ที่เป็นที่นิยม เพราะยาปลูกผมอย่างเจ้า Finasteride ช่วยยับยั้งฮอร์โมน DHT ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้ผมร่วง
ใช้เซรั่มบำรุงผมก่อนสายเกินแก้
โดยเฉพาะเซรั่มปลูกผมที่มีส่วนผสมที่ช่วยยับยั้งเอนไซม์ 5-α-reductase อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของการสร้างฮอร์โมน DHT ที่ทำให้ผมร่วงและผมบาง เช่น สารสกัดจากธรรมชาติอย่างดอกโคลเวอร์แดง และ Zinc PCA ซึ่งสองส่วนผสมสำคัญนี้มีอยู่ใน Kemist Labs Botanical Derived Scalp Serum นอกจากนี้ยังช่วยฟื้นฟูเส้นผมได้ล้ำลึกลึกถึงระดับเซลล์ ช่วยลดการหลุดร่วง เสริมสร้างรากผมให้แข็งแรงได้อีกด้วย
เท่านี้หนุ่มสาวทั้งหลายก็หมดกังวลปัญหาหัวล้านก่อนวัยได้แล้วล่ะค่ะ เพียงแค่เราต้องทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง แล้วจะได้หาวิธีป้องกันได้ทันท่วงที ก่อนที่จะไม่เหลือผมให้ดูแลนะคะ